top of page
รูปภาพนักเขียนUrbinner

วิธีดูแลพนักงานในทุกมิติ ตามทฤษฎี Maslow's Hierarchy of Needs

อัปเดตเมื่อ 16 ต.ค. 2564

การดูแลบุคลากรในองค์กรเป็นเรื่องที่ท้าทายและมีความสำคัญมาก เพราะการดูแลบุคลากรอย่างเหมาะสมมีผลต่อวัฒนธรรมขององค์กร ประสิทธิภาพการทำงานของทีม และลดอัตราการลาออก (turn over rate) ของพนักงาน ซึ่งจะมีผลต่อการทำงานในระยะยาวด้วย


ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์สามารถใช้ได้เป็นอย่างดีในการอธิบายเกี่ยวกับความต้องการในแต่ละขั้น โดยที่องค์กรสามารถประยุกต์ใช้การตอบสนองความต้องการของพนักงานตามทฤษฎี ในการดูแลและทำความเข้าใจพนักงานได้


เนื้อหาในบทความ


วิธีดูแลพนักงานตามทฤษฎี Maslow's Hierarchy of Needs

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ อธิบายว่ามนุษย์จะถูกกระตุ้นด้วยความต้องการตามลำดับขั้น โดยมนุษย์มีความต้องการด้านต่างๆ คือ


โดยเราสามารถดูแลบุลากรในด้านต่างๆ ได้ดังนี้


การดูแลความต้องการด้าน กายภาพ (Physiological)

ความต้องการทางกายภาพเป็นพื้นฐานอย่างแรกที่ทุกคนต้องการ โดยตัวอย่างของความต้องการทางกายภาพเช่น

  • อาหาร

  • ที่อยู่อาศัย

  • เครื่องแต่งกาย

ความต้องการทางกายภาพตอนนี้จำเป็นที่จะต้องแลกเปลี่ยนด้วยเงิน ดังนั้นพื้นฐานแรกสำหรับองค์กรในการดูแลความต้องการทางกายภาพคือเรื่องค่าตอบแทน ว่าค่าตอบแทนนั้นเหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ในที่นั้นหรือไม่ ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีความเหมาะสมที่แตกต่างกันออกไป


ค่าตอบแทนควรจะเหมาะสมเพื่อที่จะให้พนักงานสามารถดูแลภาระเหล่านี้ได้ และดูแลความต้องการทางกายภาพของพนักงาน นอกจากนี้บางครั้งการดูแลความต้องการด้านกายภาพอาจมาในรูปแบบอื่นนอกเหนือจากเงินเช่น

  • อาหารกลางวันสำหรับพนักงาน

  • สวัสดิการเกี่ยวกับเรื่องการเดินทาง

  • วันลาและหยุด

  • บ้านพักพนักงาน

  • สิ่งที่ช่วยทำให้พนักงานทำงานได้เต็มที่เช่น กาแฟหรืออาหารว่างในที่ทำงาน

นอกจากนี้ยังรวมไปถึง ปริมาณงานที่เหมาะสม ไม่กระทบกับการใช้ชีวิตส่วนตัว ครอบครัว หลายครั้งที่องค์กรต้องสูญเสียบุคลากรดีๆ ไปเพราะปริมาณงานที่มากเกินไปจนกระทบกับชีวิตครอบครัวของเขา หรือกระทบกับสุขภาพของพนักงาน



การดูแลความต้องการด้าน ความปลอดภัย ความมั่นคง (Safety, Security)

หลังจากที่พนักงานสามารถดูแลปัจจัยพื้นฐานของตนเองได้แล้ว ลำดับถัดมาคือการดูแลความต้องการด้านความปลอดภัยหรือความมั่นคง สิ่งที่องค์กรจะสามารถช่วยเหลือบุคลากรได้ในลำดับขั้นนี้เช่น

  • ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ

  • ความแน่นอนในการรับค่าตอบแทน

  • ทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นมลพิษกับสุขภาพ

  • การลดความเสี่ยงในด้านต่างๆ

  • ความมั่นคงทางสภาวะอารมณ์

ความแน่นอนในการรับค่าตอบแทน เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้หลายคนตัดสินใจทำงานประจำ เพราะได้รับเงินเดือนค่าตอบแทนที่แน่นอน ในขณะที่การทำงานแบบ freelance ไม่มีความแน่นอนในการรับค่าตอบแทน


นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการลดความเสี่ยงในด้านต่างๆ เช่นการมีเกณฑ์ที่ชัดเจนว่ามีกำหนดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการให้โบนัส เกณฑ์ที่ใช้พิจารณาเพิ่มเงินเดือน การประเมินงานที่มีความชัดเจน


ความมั่นคงทางสภาวะอารมณ์ คือ รู้สึกปลอดภัยทางอารมณ์ ความเสถียรทางอารมณ์ ซึ่งเกิดจากบรรยากาศในการทำงานที่มีความปลอดภัยทางใจในที่ทำงาน (psychological safety) หากมีหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานที่อารมณ์รุนแรง หรือมีเรื่องปะทะทางอารมณ์ในที่ทำงานก็อาจทำให้บุคลากรไม่รู้สึกปลอดภัยทางอารมณ์ได้ และยังรวมไปถึงการทำงานที่มีความเครียดสูงเกินไป



การดูแลความต้องการด้าน ความรักหรือการเป็นเจ้าของ (Love, Sense of Belongings)

ลำดับที่สามของทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์คือ ความต้องการทางด้านสังคม (social needs) นั่นคือพนักงานรู้สึกมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรและคนในองค์กร การทำงานร่วมกัน และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในทีม


การมีสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีภายในองค์กรอาจเกิดจากวัฒนธรรมองค์กร นอกจากนี้การมีพนักงานที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมซึ่งจะทำให้พนักงานใหม่เข้ากับบุคลากรได้ง่ายขึ้น และยังรวมถึงการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันด้วยทักษะต่างๆ เช่น



หรือเกิดจากบุคลากรรู้จักกันมากกว่าระดับผิวเผิน โดยที่อาจผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น

  • กิจกรรม team-building ซึ่งโดยมากเป็นกิจกรรมที่ทำด้วยความสนุกสนาน ซึ่งจะช่วยให้คนที่ไม่รู้จักกันเลยทำความรู้จักกัน ละลายพฤติกรรม เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มได้ในปริมาณมาก กิจกรรมนี้เหมาะมากในการอบรมพนักงานใหม่จำนวนมากๆ

  • กิจกรรม workshop ที่ช่วยเอื้ออำนวยให้บุคลากรสามารถพูดคุยและทำความรู้จักกันในมิติที่ลึกซึ้งมากกว่าความสนุกสนานเช่น การเรียนรู้แบบ transformative learning เป็นต้น ซึ่งเวิร์คช็อปเหล่านี้เหมาะสมมากในการดูแลกลุ่มของบุคลากรที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรในระยะหนึ่งแล้ว

  • Facilitation สำหรับการทำงานร่วมกัน เป็นการเตรียมความพร้อมทีมที่อาจรู้จักหรือไม่รู้จักกันมาก่อน ได้รู้จักกันในมิติของการทำงานก่อนเริ่มทำงานจริงๆ เพื่อปรับความต้องการที่แต่ละคนอาจมีแตกต่างกันให้ตรงกัน เข้าใจกันมากขึ้นก่อนที่จะเริ่มโปรเจค เหมาะสำหรับมืออาชีพที่มีความเชี่ยวชาญสูง


นอกจากนี้ความต้องการด้านความความรักหรือการเป็นเจ้าของยังรวมไปถึงความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ความเป็นส่วนหนึ่งของงาน ซึ่งอาจเกิดจากการที่บุคลากรได้ทำบางอย่างตอบแทนองค์กรเล็กๆ น้อยๆ แล้วรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร หรือการทำงานต่างๆ ร่วมกันกับทีม


ความรักและความรู้สึกเป็นเจ้าของนี้เกิดจากความสนิทสนมกันระหว่างบุคลากรได้เช่นกัน ในช่วงแลกเปลี่ยนของกิจกรรมใน workshop ต่างๆ ที่อาศัยหลักของของสุนทรียสนทนา จะช่วยทำให้บุคลากรรู้จักกันมากขึ้นในมิติที่มากกว่าเรื่องการทำงาน ซึ่งแทบไม่มีโอกาสเลยในบรรยากาศการทำงานแบบทั่วไป การแลกเปลี่ยนเรื่องราวอื่นๆ ในชีวิตในเวิร์คช็อปต่างๆจึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้พนักงานเกิดความสนิทกัน (team-bonding)



การดูแลความต้องการด้าน ความเคารพ (Esteem)

ความต้องการด้านความเคารพ หรือก็คือความรู้สึกเชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่ง ความสำเร็จด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ

  • ความต้องการที่จะเป็นใครสักคน สามารถเกิดได้จากการบรรลุเป้าหมายส่วนตัว การได้รับความสำเร็จบางอย่างที่เขาต้องการ ซึ่งอาจเป็นการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนนี้สามารถดูแลได้ด้วยการให้พนักงานได้มีส่วนร่วมกำหนดเป้าหมายในการทำงานจากเป็นเป้าหมายสั้นๆ เมื่อพนักงานสามารถบรรลุเป้าหมายได้ เขาจะมีความภูมิใจในตัวเองมากยิ่งขึ้น

  • ความต้องการที่จะได้รับการเคารพจากคนอื่น คือการทำงานที่ได้รับความเคารพ บางครั้งพนักงานอาจได้รับความไว้วางใจจากบุคลากรคนอื่น หรืออาจได้รับความเชื่อมั่นว่ามีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงความเคารพซึ่งกันและกันในที่ทำงานด้วย

พนักงานที่ถูก micro-manage จะทำให้เขารู้สึกได้รับความเคารพที่ลดลงเพราะมีคนสั่งการทุกอย่างในงานของเขา ซึ่งจะส่งผลให้ความภูมิใจในตัวเองและ self-esteem ลดลง


การจัดกิจกรรมอื่นๆ หรือการขอความคิดเห็นบางอย่างเพื่อพัฒนาองค์กรช่วยทำให้บุคลากรได้รับความต้องการด้านการเคารพได้ เมื่อเขาเห็นว่าไอเดียของเขาถูกนำไปใช้ หรือเขามีความสามารถที่ช่วยเหลือองค์กรได้ เขาก็จะเกิดความภูมิใจและได้รับความเคารพ


ข้อควรระวังคือความเคารพนอกเหนือจากการทำงานจะเกิดขึ้นเพียงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น ตัวอย่างเช่นในกิจกรรม team-building ที่พนักงานที่ชนะกิจกรรมอาจได้รับความภูมิใจและความเคารพจากคนอื่น แต่เมื่อกลับเข้ามาสู่บรรยากาศการทำงาน สิ่งเหล่านี้จะมีความหมายลดลงไปอย่างรวดเร็ว


การดูแลความเคารพที่ดีในองค์กรสามารถทำได้โดยการทำให้ที่ทำงานมีบรรยากาศของความเข้าใจและการพัฒนา ซึ่งอาจเกิดจากการสะท้อนตัวเอง (self-Reflection) และ After Action Review (AAR) เป็นระยะ เพราะการสะท้อนงานเหล่านี้เป็นระยะจะช่วยให้เกิดความเคารพในตัวเอง ความภูมิใจ ความเข้าใจกัน ได้มากขึ้น


เมื่อเรามีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันแล้ว เราจะเห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้น เสริมสร้างทักษะคติทางบวกให้กับคนอื่นได้มากขึ้น



การดูแลความต้องการด้าน การบรรลุความหมายภายในหรือความสมบูรณ์ของชีวิต (Self-Actualization)

ลำดับขั้นสุดท้ายตามทฤษฎีความต้องของมาสโลว์คือ การให้พนักงานสามารถเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เขาสามารถเป็นได้ ซึ่งสามารถทำได้โดยหลากหลายทางเช่น

  • การจัดอบรมพัฒนาทักษะให้กับบุคลากร

  • การให้พนักงานมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร

  • การพัฒนาทักษะการทำงานของบุคลกากร

องค์กรของคุณจะโชคดีมากหากบุคลากรมีความต้องการในด้าน self-actualization ที่เป็นไปในแนวทางเดียวกันเช่นต้องการเป็นเลิศ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในด้านเหล่านั้น แต่อาจมีพนักงานบางคนที่เริ่มรู้สึกว่าเขามีความต้องการอย่างอื่นที่อาจไม่ตรงมากนักเช่น ต้องการเป็นพ่อแม่ที่ดีในอุดมคติ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าพนักงานเหล่านี้จะมีคุณค่าหรือความสามารถน้อยกว่าพนักงานที่มีความต้องการพัฒนาตัวเองในด้านที่ตรงกับการทำงาน


หากองค์กรพบว่าบุคลากรมีความต้องการด้านความสมบูรณ์ของชีวิตที่แตกต่างออกไปจากการทำงานเช่น พนักงานบางคนรักการเล่นดนตรี หรือปลูกต้นไม้ การเอื้ออำนวยให้บุคลากรเหล่านั้นสามารถทำในสิ่งที่เขารักได้ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยดูแลพนักงานเหล่านั้นได้เช่นกัน และคุณอาจให้เขาได้ทำบางอย่างจากความสนใจของพนักงานคนนั้นก็ได้


นอกจากนั้นการให้พนักงานได้มีทักษะที่สำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ตัวเอง การตระหนักรู้ในตัวเอง จะช่วยให้พนักงานมีการตระหนักรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้มากขึ้นซึ่งนำไปสู่การเติบโตของชีวิต ความเชื่อมั่น และความมั่นคงในตัวเองตามมา



แม้ว่าทฤษฎีเกี่ยวกับความต้องการในสมัยใหม่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากทฤษฎีของมาสโลว์ แต่ทฤษฎีนี้ก็ยังได้รับความนิยมเพราะสามารถทำให้เข้าใจได้ง่าย และสามารถช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์หรือผู้บริหารสามารถดูแลความต้องการของบุคลากรได้


การดูแลบุคลากรเหล่านี้สามารถช่วยทำให้บุคลากรมีคุณภาพ มีความสุขในที่ทำงานได้ การดูแลพนักงานให้ดีที่สุด ไม่ใช่การดูแลพนักงานให้เหมือนกับที่เขาทำกับคุณ แต่คือการดูแลพนักงานในทางที่เขาควรจะได้รับการดูแล ซึ่งทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์สามารถช่วยได้เป็นอย่างดี


Related Topics


แหล่งอ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม

 

Urbinner เป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้เติบโตจากการเรียนรู้ในทุกช่วงเวลาของชีวิต โดยทีมนักจัดกระบวนการจะพาคุณไปเรียนรู้ทักษะที่นำไปสู่การเข้าใจตัวเอง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการตระหนักรู้ร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถทำในสิ่งที่มีคุณค่าและความหมายสำหรับตัวเอง องค์กร และชุมชนของเราได้

ดู 17,856 ครั้ง2 ความคิดเห็น

2件のコメント


CBKM BOCU
CBKM BOCU
10月31日

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPS Machine EPS Block…

EPS Machine EPS Block…

EPS Machine EPS Block…

AEON MINING AEON MINING

AEON MINING AEON MINING

KSD Miner KSD Miner

KSD Miner KSD Miner

BCH Miner BCH Miner

BCH Miner BCH Miner

いいね!

CBKM BOCU
CBKM BOCU
10月31日

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPS Machine EPS Block…

EPS Machine EPS Block…

EPS Machine EPS Block…

AEON MINING AEON MINING

AEON MINING AEON MINING

KSD Miner KSD Miner

KSD Miner KSD Miner

BCH Miner BCH Miner

BCH Miner BCH Miner

いいね!
bottom of page