Highlights
Introverted feeling (Fi) คือ ฟังก์ชั่นที่ทำหน้าที่ในตัดสินใจ (judging function) ซึ่งจะเป็นการตัดสินใจที่เกิดจากตรรกะ ระบบความคิด การจัดหมวดหมู่ที่เน้นความแม่นยำในการจำแนกสิ่งต่างๆ ออกจากกัน
บุคลิกภาพที่มี Introverted feeling (Fi) เป็นฟังก์ชั่นหลัก (dominant function) ได้แก่ ISFP (ศิลปิน) และ INFP (นักไกล่เกลี่ย)
Introverted feeling (Fi) เป็นหนึ่งใน cognitive function หรือกระบวนการทำงานภายในของจิตใจที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและมีทิศทางเข้ามาสู่ภายใน ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากทฤษฎีทางจิตวิทยาของ Carl Jung และได้รับการพัฒนาจนมาเป็น MBTI หรือ บุคลิกภาพทั้ง 16 แบบที่จะบ่งบอกกระบวนการทำงานของแต่ละบุคลิกภาพ ส่งผลให้แต่ละคนมีการแสดงออก วิธีการคิด ตัดสินใจ หรือรับรู้ข้อมูลแตกต่างกันออกไป
การเข้าใจ cognitive function หรือกระบวนการทำงานที่เกิดขึ้นภายในของจิตใจนี้เองที่จะช่วยทำให้เราเข้าใจบุคลิกภาพทั้ง 16 แบบในเชิงลึก โดยในเวิร์คช็อป MBTI: Cognitive Functions and Developments จะช่วยทำให้คุณการเข้าใจกระบวนการทำงานของ cognitive function รู้จักความแตกต่างของคนที่อยู่ในไทป์เดียวกันเอง ปัญหาที่มักจะพบ ลักษณะวิธีการที่เรารับมือกับความเครียด และการพัฒนา cognitive function เพื่อให้มีชีวิตที่มีความสุขและสมดุลได้
เนื้อหาในบทความ
Introverted Feeling (Fi) คืออะไร?
Introverted feeling (Fi) คือ ฟังก์ชั่นที่ทำหน้าที่ในตัดสินใจ (judging function) ซึ่งจะเป็นการตัดสินใจที่เกิดจากคุณค่าและอารมณ์ความรู้สึกส่วนตัว มีลักษณะที่เป็นปัจเจก เป็นฟังก์ชั่นที่มีการทำงานจากภายใน (introverted function)
บุคลิกภาพที่มี Introverted feeling (Fi) เป็นฟังก์ชั่นหลัก (dominant function) มักจะมีกระบวนการทำงานภายในส่วนใหญ่เกิดขึ้นด้วยฟังก์ชั่นนี้ และทำให้ cognitive function นี้เป็นส่วนสำคัญในบุคลิกภาพ ซึ่งบุคลิกภาพที่มี Fi เป็น cognitive function แรกได้แก่
บุคลิกภาพที่มี Introverted feeling (Fi) เป็นฟังก์ชั่นผู้ช่วย (auxiliary function) จะมีการใช้งานฟังก์ชั่นนี้ในชีวิตรองลงมา แม้จะไม่เท่ากับฟังก์ชั่นหลัก แต่ cognitive function นี้ก็ยังคงเป็นส่วนสำคัญในบุคลิกภาพด้วยเช่นกัน ซึ่งบุคลิกภาพที่มี Fi เป็น cognitive function ลำดับสองได้แก่
กระบวนการทำงานของฟังก์ชั่น Introverted Feeling (Fi) ใน MBTI
Introverted feeling (Fi) เป็นฟังก์ชั่นที่มีหน้าที่ตัดสินใจผ่านคุณค่าภายในและความรู้สึกส่วนตัวที่เป็นปัจเจก ไม่เหมือนใคร และไม่สามารถต่อรองได้ โดยมีลักษณะกระบวนการทำงานคือ
ใช้ความรู้สึกเป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจ
มองหาความกลมเกลียวในความรู้สึก คุณค่าส่วนตัวที่มีกับตัวเอง
ไวต่อความรู้สึก อารมณ์ ที่เกิดขึ้นกับตัวเองโดยเฉพาะเมื่อมีเหตุการณ์ใดที่จะมาละเมิดคุณค่าส่วนตัวนั้นจะเกิดปฏิกิริยาต่อต้านภายในทันที
เข้าใจผู้คนในระดับคุณค่าของพวกเขา ว่าพวกเขาให้ความสำคัญกับอะไร
คุณค่าภายในที่มีอาจเป็นคุณค่าที่รู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ โดยจะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถต่อรอง เจรจาเพื่อให้เปลี่ยนแปลงได้
เป็นลักษณะความชอบ ความถนัด ซึ่งมักจะกำหนดสไตล์และรสนิยมของคนๆ นั้น
Cognitive function แบบ Introverted feeling (Fi) นี้มักจะให้ความสำคัญกับความเป็นหนึ่งเดียวกันภายในและความรู้สึก ซึ่งทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างบุคคลหรือความเป็นปัจเจกขึ้นมาในสังคม และทำให้มีพลังในการขับเคลื่อนแนวความคิดต่างๆ มากมายเช่นสิทธิส่วนบุคคล สิทธิมนุษยชน หรืออิสรภาพ
สิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานของ cognitive function แบบ Introverted feeling (Fi) คือการใช้คุณค่าภายในเป็นตัวตัดสิน เปรียบเทียบว่าควรจะทำสิ่งเหล่านั้นหรือไม่ หรือควรจะทำอะไร ซึ่งทำให้คนในบุคลิกภาพที่มี Fi โดดเด่นมักจะ
มีกระบวนการตัดสินใจตามคุณค่าส่วนตัวที่มีและให้ความสำคัญ
มีกลยุทธ์ในการกลับคืนสู่ความกลมเกลียวภายในใจ
ให้ความสนใจไปที่ตัวบุคคล ไม่ใช่กลุ่มหรือระบบ
สามารถรับรู้ได้ทันทีหากมีอะไรขัดขวางปรือไม่ได้อยู่ในแนวทางเดียวกันกับคุณค่าที่ให้ความสำคัญ
หามีความกลมเกลียวภายในหรือรู้สึกดีเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ
ค่อนข้างลำบากใจหากต้องบอกกระบวนการตัดสินใจ เนื่องจากเป็นเรื่องส่วนตัว มาจากความรู้สึก ที่อธิบายเข้าใจได้ค่อนข้างยาก
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น Introverted Feeling (Fi)
การใช้งานฟังก์ชั่น introverted feeling (Fi) มักจะเกิดขึ้นในตอนที่ตัดสินใจ เพราะ Fi เป็น cognitive function ที่ทำหน้าที่ตัดสินใจ (judging function) ตามคุณค่าที่มี ที่ยึดถือไว้ ซึ่งคุณค่าเหล่านี้มักจะเป็นสิ่งที่เลือกไม่ได้ และยากที่จะเจรจาต่อรอง ตัวอย่างการใช้งาน introverted feeling (Fi) เช่น
ฉันรู้สึกว่าการอยู่บ้านหลังเดียวกันก่อนที่จะแต่งงานเป็นเรื่องที่แย่มาก เราไม่ควรชิงสุกก่อนห่าม และฉันมั่นใจว่าจะไม่ทำแบบนั้น
ฉันไม่ชอบพี่สาวของตัวเองมากๆ แต่ฉันก็รักเขา เพราะเขาเป็นครอบครัวเดียวกันกับเรา การรักและดูแลคนในครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับฉัน
ฉันไม่เข้าใจว่าทำไมคนเราถึงโกหก ฉันเป็นคนหนึ่งที่ไม่เคยโกหกและไม่อยากจะทำร้ายใครด้วยการโกหก
หากฉันลังเลกับการตัดสินใจอะไรแล้ว ฉันมักจะเชื่อความรู้สึกเป็นอันอับแรก เพราะฉันเชื่อว่าเหตุผลและคำอธิบายจะตามมาเองหลังจากความรู้สึกที่ชัดเจน
ตอนที่ฉันต้องตัดสินใจว่าจะย้ายที่ทำงานไปยังบริษัทที่เสนอค่าตอบแทนให้มากกว่าดีหรือไม่ ฉันรู้สึกว่าฉันคงจะย้ายที่ทำงานไม่ได้เพราะฉันไม่สามารถหักหลังบริษัทที่ทำงานอยู่ตอนนี้ที่ให้โอกาสฉันได้ทำงานมากมายขนาดนี้ได้
ฉันมักจะมีลางสังหรณ์บอกว่าฉันควรทำอะไร และฉันเลือกที่จะทำตามสิ่งนี้
ปัญหาที่เกิดจากการมี Cognitive Function แบบ Fi ที่ไม่พัฒนา
Cognitive function ไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนมีและสามารถใช้งานได้ดีทุกคน และแม้บุคลิกภาพที่มี introverted feeling (Fi) เป็นฟังก์ชั่นหลัก ก็อาจมีปัญหาจากการใช้ cognitive function ในชีวิต ซึ่งอาจทำให้คนเหล่านั้น
มองโลกว่า ไม่มีใครเข้าใจ อยู่อย่างโดดเดี่ยว เพียงลำพัง
มีข้ออ้างในการทำสิ่งต่างๆ โดยให้เหตุผลว่ามันเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ
หัวรั้น ไม่ยอมรับกฎ ข้อตกลง ที่คนในกลุ่มสร้างขึ้นมาร่วมกัน
จมดิ่งอยู่ในอารมณ์ ความรู้สึก
ไม่มีเหตุผล ตัดสินใจด้วยเหตุผลไมได้ ใช้อารมณ์ความรู้สึก สัญชาติญาณเป็นใหญ่
เมื่อมีความผิดพลาด มักจะให้เหตุผลหรือคิดว่าตัวเองเป็นเหยื่อในสถานการณ์เหล่านั้น
หากคุณยังไม่ทราบบุคลิกภาพของตัวเองหรือยังเคยมีประสบการณ์ตรงในการขึ้น panel เพื่อเห็นความแตกต่างของความถนัดแต่ละแบบ คุณสามารถเข้าร่วมเวิร์คช็อป MBTI: 16 Personality types เพื่อให้คุณได้เข้าใจตัวเอง พัฒนาจุดแข็งจุดอ่อนตามบุคลิกภาพ และรู้วิธีการอยู่ร่วมกับคนที่มีบุคลิกภาพแตกต่างกันด้วยกระบวนการ panel ได้
สำหรับคนที่ทราบบุคลิกภาพของตัวเองและเห็นความแตกต่างของความถนัดแล้ว คุณสามารถเรียนรู้ cognitive function และลักษณะของไทป์ตัวเองในเชิงลึกได้ในเวิร์คช็อป MBTI: Cognitive Functions and Developments เพื่อให้ตัวเองก้าวข้ามกับดักของไทป์ เข้าใจแนวทางในการพัฒนา cognitive function ของตัวเอง และมีชีวิตที่ดีขึ้นได้
Related Topics
แหล่งอ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม
Drenth, A.J. 2014. My True Type. Inquire Books.
Hunziker, Leona Hass and Mark. 2014. Building blocks of personality type.
Myers, Isabel Briggs. n.d. Introduction to Myers-Briggs Type. The Myers-Briggs Company Pty Ltd.
Tieger, Paul D. Tieger and Barbara Barron. 1999. The Art of Speed Reading People. New York: Little, Brown and Company.
Urbinner เป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้เติบโตจากการเรียนรู้ในทุกช่วงเวลาของชีวิต โดยทีมนักจัดกระบวนการจะพาคุณไปเรียนรู้ทักษะที่นำไปสู่การเข้าใจตัวเอง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการตระหนักรู้ร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถทำในสิ่งที่มีคุณค่าและความหมายสำหรับตัวเอง องค์กร และชุมชนของเราได้
Comments