Highlights
ทีมที่ไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานจะมีลักษณะร่วมเหมือนกัน 5 อย่าง โดยเริ่มต้นจากการไม่มีความไว้วางใจ กลัวความขัดแย้ง ขาดข้อตกลงร่วมกัน หลีกเลี่ยงการมีหน้าที่ ความรับผิดชอบ และไม่ให้ความใส่ใจกับผลลัพธ์
การทำให้ทีมมีประสิทธิภาพต้องเริ่มจากการแก้ไขปัญหาขั้นพื้นฐานก่อนที่จะแก้ไขปัญหาในลำดับถัดไป
การทำให้ทีมมีความปลอดภัยทางใจในที่ทำงาน (psychological safety) เป็นการเริ่มต้นสร้างความไว้วางใจระหว่างกัน ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาของทีมที่ไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานได้
หลายครั้งที่เรารู้สึกว่ามีปัญหาจากการทำงานระหว่างกันในทีม แต่ก็ไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงของปัญหาเหล่านั้นว่าคืออะไร เราอาจสัมผัสได้ว่าแต่ละคนในทีมเริ่มเกิดความขัดแย้งกันในเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ หรือบางคนเริ่มรู้สึกอยากมีส่วนร่วมในงานน้อยลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณที่บอกว่าการทำงานร่วมกันเริ่มจะไม่มีประสิทธิภาพแล้ว
การมีเพื่อนร่วมงานหรือทีมที่เข้าใจกันและมีทักษะการทำงานร่วมกัน สามารถทำให้งานประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น เพราะทุกคนช่วยเหลือและเติมเต็มกันได้ แต่การมีทีมที่ไม่ดีอาจจะทำให้เรารู้สึกหงุดหงิด เกิดการเมืองภายใน จนถึงขั้นอาจรู้สึกหมดไฟจากการทำงานเลยก็ได้
หากองค์กรของคุณกำลังมีปัญหาการทำงานร่วมกันภายในทีม คุณสามารถดูหลักสูตรการอบรม การจัดกระบวนการ และเวิร์คช็อปภายใน เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันหรือติดต่อเราเพื่อปรึกษาแนวทางเบื้องต้นได้
ทีมที่ไม่ดีหรือทีมที่ไร้ประสิทธิภาพนั้นจะมีลักษณะบางอย่างร่วมกัน โดยที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการชื่อ Patrick Lencioni ได้ค้นหาและพบว่าทีมที่ไม่ดีจะมีลักษณะร่วมกันอยู่ 5 อย่าง ซึ่งจะต้องบรรลุเงื่อนไขที่พื้นฐานมากกว่าให้ได้ก่อนที่จะบรรลุเงื่อนไขเพื่อที่จะให้ทีมมีประสิทธิภาพในขั้นถัดไป ซึ่งลักษณะโครงสร้างนี้คล้ายคลึงกันกับทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์
เนื้อหาในบทความ
การร่วมงานของคุณกำลังไร้ประสิทธิภาพอยู่หรือไม่?
หากคุณไม่แน่ใจว่าการทำงานร่วมกันในทีมกับเพื่อนร่วมงานของคุณ มีประสิทธิภาพอยู่หรือไม่ คุณอาจลองสำรวจทีมในองค์กรของคุณด้วยคำถามเหล่านี้
สมาชิกภายในทีมสามารถบอกความคิดเห็นที่พวกเขามีอย่างเปิดเผยได้หรือไม่?
ในแต่ละครั้งที่พบกันหรือประชุมกัน การพบกันเหล่านั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่?
ทีมของคุณมีการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว และหลีกเลี่ยงการตัดสินใจแบบที่เห็นพ้องต้องกันหรือไม่?
เมื่อเกิดปัญหาขึ้น สมาชิกภายในทีมจะรู้สึกท้าทายที่จะแก้ไขปัญหาหรือไม่?
เพื่อนร่วมงานของคุณยอมเสียสละบางอย่างที่พวกเขาสนใจ เพื่อให้ทีมเป็นประโยชน์หรือไม่?
หากคำตอบคือ "ใช่" ทั้งหมด นั่นแสดงว่าทีมงานของคุณค่อนข้างมีประสิทธิภาพดีทีเดียว ในขณะที่หากคุณตอบ "ไม่" ในทุกคำถาม นั่นอาจถึงเวลาที่คุณจะต้องจริงจังกับการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพในทีมก่อนที่มันจะสายเกินไป
5 ลักษณะของทีมที่ไม่มีประสิทธิภาพ
แม้ว่าทีมที่ทำงานร่วมกันอย่างขาดประสิทธิภาพ อาจมีคุณลักษณะหลายอย่างร่วมกันเช่น ความสนใจที่แตกตต่างกัน จุดแข็งที่แตกต่างกันมากเกินไป หรือความไม่เข้าใจกันและกัน
ในการทำให้ทีมมีประสิทธิภาพคุณจำเป็นที่จะต้องสร้างคุณลักษณะที่สำคัญหรือแก้ไขปัญหาเป็นลำดับขั้นโดยเริ่มจากปัญหาขั้นพื้นฐานก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นลำดับที่มีความซับซ้อนถัดไป ซึ่งลักษณะของทีมที่ขาดประสิทธิภาพตามทฤษฎีของ Patrick Lencioni คือ
การเข้าใจคุณลักษณะเหล่านี้เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยทำให้การทำงานร่วมกันเป็นทีม หรือการทำงานร่วมกันในองค์กรมี psychological safety เพิ่มขึ้นด้วย
ขาดความไว้วางใจกัน (Absent of Trust)
การไม่มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน หมายถึง การมีความกลัวที่จะต้องรู้สึกเปราะบางร่วมกัน เพราะหลายครั้งการทำงานจะเกิดความรู้สึกเปราะบางทางอารมณ์เมื่อเกิดความผิดพลาด ความเข้าใจผิด ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญหน้ากับความรู้สึกเหล่านั้น การขาดความไว้วางใจกันไม่ได้หมายถึงการไม่เชื่อใจกันและกันในการทำงานเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงการขาดพื้นที่ที่แต่ละคนจะแสดงออกในเรื่องที่เปราะบางด้วย
นอกจากนี้การขาดความไว้วางใจกันยังรวมไปถึงการปกป้องคนอื่นที่ไม่ให้เกิดความรู้สึกเปราะบางด้วยเช่น การปกป้องเพื่อนในทีมจากความผิดพลาด เพราะหากไม่มีพื้นที่สำหรับความเปราะบางแล้ว การยอมรับความผิดพลาด จุดอ่อน หรือการขอความช่วยเหลือจะแทบเป็นไปไม่ได้ และจะไม่มีความเชื่อใจระหว่างกัน
ทีมที่ไม่มีพื้นที่สำหรับความเปราะบางขณะทำงานจะไม่เกิดการพัฒนา หรือการมีส่วนร่วมในการเผชิญหน้าปัญหาอย่างสร้างสรรค์ การทำงานในลักษณะนี้จะเหมือนกับการทำงานที่เกิดความไม่ไว้วางใจอยู่ลึกๆ จนไม่สามารถทำให้ผลลัพธ์ออกมาดีได้
ลักษณะของทีมที่ขาดความไว้วางใจ
ปิดบังจุดอ่อนและความผิดพลาดของกันและกัน
ไม่ถามหาความช่วยเหลือหรือคำแนะนำจากกันและกัน
รู้สึกลังเลในการตัดสินใจที่จะขอความช่วยเหลือจากคนอื่นที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่าเรา
ไม่ชอบการประชุม การทำงานร่วมกัน การพบกัน หรือรู้สึกอยากหลีกเลี่ยงการใช้เวลาร่วมกัน
ทีมที่ขาดความไว้วางใจกันจะมีความรู้สึกปลอดภัยทางใจในที่ทำงาน (psychological safety) ต่ำ ทำให้แต่ละคนไม่อยากพูดในสิ่งที่คิดออกมา
แนวทางการแก้ไขเมื่อการทีมขาดความไว้วางใจกัน
หัวหน้าและผู้จัดการมีบทบาทสำคัญในการสร้างความไว้วางใจของทีม โดยหัวหน้าควรรู้จักทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง ทักษะระหว่างบุคคล เพื่อที่จะเป็นตัวอย่างให้ทีมได้
เพิ่มความรู้สึกปลอดภัยทางใจในที่ทำงาน (psychological safety) ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การฝึก empathy, การแบ่งปันความผิดพลาดในการทำงาน
หากเป็นทีมที่มีความเชี่ยวชาญทำงานร่วมกัน อาจอาศัย facilitator เพื่อจัด session เกี่ยวกับการเตรียมพร้อมในการทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นทีมแบบโปรเจคทีม (project team) หรือทีมที่เพิ่งเคยทำงานร่วมกันเป็นครั้งแรก
หากทีมของคุณกำลังขาดความไว้วางใจระหว่างกัน คุณสามารถให้พวกเราจัดเวิร์คช็อป Team building แบบ Value-Based เพื่อช่วยให้เกิดความไว้วางใจในทีมได้ ซึ่ง Value-Based Team building นี้จะมีกระบวนการที่ช่วยทำให้เกิดความเข้าใจระหว่างบุคคลและสร้างความรู้สึกปลอดภัยทางใจในที่ทำงาน (psychological safety)
ข้อดีของทีมที่มีความไว้วางใจกัน
สมาชิกรู้สึกปลอดภัย สบายใจเมื่อทำงานร่วมกันและบรรลุเป้าหมายเดียวกัน
เมื่อมีปัญหา เขาสามารถตอบสนองกับปัญหาโดยที่ไม่เงียบไว้เฉยๆ
ให้กำลังใจกันและกัน มองเห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของกันและกันได้
มีความสัมพันธ์ที่ดีนอกเหนือจากการทำงาน
การไม่มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน หมายถึง ความกลัวที่จะรู้สึกเปราะบางร่วมกัน เพราะหลายครั้งการทำงานจะเกิดความรู้สึกเปราะบางทางอารมณ์เมื่อเกิดความผิดพลาด ความเข้าใจผิด ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญหน้ากับความรู้สึกเหล่านั้น การขาดความไว้วางใจกันไม่ได้หมายถึงการไม่เชื่อใจกันและกันในการทำงานเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงพื้นที่ที่แต่ละคนจะแสดงออกในเรื่องที่เปราะบางด้วย
การที่บุคลากรหรือสมาชิกในทีมสนิทสนมกันเป็นเรื่องที่ดี แต่แม้ว่าสมาชิกในทีมอาจมีความไว้วางใจที่จะพูดคุยเรื่องต่างๆ ในชีวิตส่วนตัวให้กันฟัง พวกเขาอาจไม่กล้าพูดเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องงานเช่น จุดแข็งของตัวเอง ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งนั่นอาจไม่ได้ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือการมีความไว้วางใจระหว่างกันในทีมเพิ่มขึ้น
ดังนั้นหากคุณเป็นคนที่ดูแลทีมงานหรือหัวหน้าทีม คุณอาจไม่ต้องให้ความสำคัญกับการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์หรือทำกิจกรรมที่เกิดความสนุกสนานร่วมกันมากเกินไป เพราะนอกจากจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ตรงจุดแล้ว ยังทำให้เกิดความสิ้นเปลืองงบประมาณอีกด้วย
กลัวความขัดแย้ง (Fear of Conflict)
การทำงานที่มีผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมารวมกันมากเป็นข้อดีที่จะนำไปสู่ความมีประสิทธิภาพในการทำงาน เพราะแต่ละคนมีความถนัดที่แตกต่างกัน แต่การทำงานร่วมกันระหว่างคนที่ถนัดแตกต่างกันนั้นอาจเกิดปัญหาความขัดแย้งนำมาได้
การมีความขัดแย้งในเรื่องงานไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ แต่สัญญาณที่ผิดปกติเกิดขึ้นเมื่อพวกเขากลัวที่จะขัดแย้งกันในเรื่องงาน เพราะเวลาที่มีค่าจะถูกใช้ไปอย่างเปล่าประโยชน์ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะเป็นเพียงผลลัพธ์สำเร็จตามเป้าอย่างผิวเผิน
ลักษณะของทีมที่กลัวความขัดแย้ง
ลังเลที่จะบอกความเห็นของตัวเอง หรือความกังวลที่มี
สมาชิกมีความขัดแย้งส่วนตัวเกิดขึ้น
สภาพแวดล้อมในการทำงานที่อาจมีส่วนของการบูลลี่ โจมตีลักษณะเฉพาะของบุคคล แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ก็อาจสร้างความกระทบกระเทือนได้
มีการยอมรับไอเดีย ความคิดอะไรง่ายๆ โดยที่ไม่ได้ตรวจสอบแง่มุมของความคิดเหล่านั้นก่อน
พยายามหลีกเลี่ยงการแก้ไขปัญหา หลีกเลี่ยงการชี้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากคนอื่นในทีม
แนวทางการแก้ไขเมื่อการทีมที่กลัวความขัดแย้ง
เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการให้คุณค่าที่แตกต่างกันของแต่ละคนในทีม
สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการโต้เถียง แสดงให้เห็นว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องที่เป็นปกติและมีความหมาย เมื่อเรามีจุดมุ่งหมายร่วมกัน
เรียนรู้ว่าอะไรคือความขัดแย้งที่ดี และอะไรคือความขัดแย้งที่ไม่เหมาะสม
การกลัวความขัดแย้งอาจมีสาเหตุจากการไม่เข้าใจว่าแต่ละบุคคลมีการให้คุณค่าในแต่ละเรื่องที่แตกต่างกัน หรือการไม่เท่าทันเสียงของตัวเองที่เคยกับความขัดแย้งมากขึ้น
หากองค์กรของคุณกำลังเผชิญหน้ากับความกลัวความขัดแย้ง การทำให้บุคลากรเห็นถึงความแตกต่างของคุณค่าในแต่ละคนสามารถช่วยลดความกลัวในความแตกต่าง และทำให้เกิดความเข้าใจระหว่างกันมากยิ่งขึ้น โดยหลักสูตรอบรมที่สามารถช่วยทำให้เข้าใจความแตกต่างและสไตล์การทำงานคือ
ข้อดีของทีมที่ไม่กลัวความขัดแย้ง
สร้างมุมมองความคิดเห็นที่หลากหลาย กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
แก้ไขปัญหา ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
ทำให้จุดผิดพลาดในงานลดลง
ลดการเมืองภายในองค์กร ในทีม
การกลัวความขัดแย้งอาจเกิดจากความไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลว่าแต่ละคนมีการให้คุณค่าที่แตกต่างกัน การแสดงออกถึงคความต้องการที่แตกต่างกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นทักษะระหว่างบุคคลที่ต้องอาศัยประสบการณ์และการเรียนรู้
เมื่อเรามีทักษะเหล่านี้และเข้าใจคความแตกต่างระหว่างกันมากขึ้น ความกลัวความขัดแย้งจะลดลงและนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้
ขาดข้อตกลงร่วมกัน (Lack of Commitment)
หลังจากที่ทุกคนในทีมกล้าที่จะคุยเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว มันคงจะไม่ช่วยอะไร หากขาดทิศทางการทำงาน ข้อตกลงร่วมกัน หรือพันธสัญญาระหว่างกันในทีม เพราะการพูดคุยถึงปัญหาที่ไม่มีทิศทางการดูแลที่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ย่อมไม่ช่วยอะไร
ลักษณะของทีมที่ขาดข้อตกลงร่วมกัน
ไม่กล้าตัดสินใจ
นำปัญหาเดิมๆ มาอธิบาย หาทางแก้ไขซ้ำแล้วซ้ำเล่า
สร้างความไม่ชัดเจนในการลงมือทำ
ใช้เวลาในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ มากเกินไป
แนวทางการแก้ไขเมื่อทีมขาดข้อตกลงร่วมกัน
สร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจ (key decision)
หากเป็นในระดับผู้จัดการ หรือหัวหน้าฝ่าย ควรทำให้เกิดความชัดเจนว่าจะสื่อสารอะไรและไม่สื่อสารอะไรให้สมาชิกคนอื่น
ใช้กระบวนการ facilitation
ทำให้มี deadline ในการตัดสินใจ การทำสิ่งต่างๆ ที่ชัดเจน
หากทีมของคุณกำลังขาดข้อตกลงร่วมกัน คุณสามารถให้เราจัดกระบวนการ Facilitation เพื่อเตรียมความพร้อม สร้างข้อตกลงร่วมกันในทีม และพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้นได้
ข้อดีของทีมที่มีข้อตกลงร่วมกัน
เข้าใจทิศทางและความสำคัญอย่างชัดเจน
สร้างเป้าหมายร่วมกัน
ลดความกลัวที่จะเปลี่ยนแปลง การสร้างสรรค์
กระบวนการสร้างข้อตกลงร่วมกันเป็นสิ่งที่ช่วยให้ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการ facilitation เพื่อเตรียมพร้อมการทำงานร่วมกันจะมีการสร้างข้อตกลงร่วมกัน ทำความเข้าใจกันและกัน ในมิติที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เพื่อให้แต่ละคนสามารถมีเป้าหมายร่วมกันได้
ในการตั้งเป้าหมายแต่ละครั้ง เป้าหมายควรจะเป็นเป้าหมายที่ชัดเจนและเอื้ออำนวยให้ติดตามผลได้การใช้ SMART goal ในการตั้งเป้าหมายย่อยๆ จะช่วยทำให้เป้าหมายมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
หลีกเลี่ยงภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบระหว่างกัน (Avoidance of Accountability)
ภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบระหว่างกัน (Accountability) ตามที่ Lencioni หมายถึงคือ ความตั้งใจในการเตือนกันและกันหากพวกเขาไม่สามารถทำอะไรผ่านระดับมาตรฐานของงาน หรือของกลุ่มได้
หลายคนมักเข้าใจผิดว่าการหลีกเลี่ยงความรับผิดระหว่างกันคือการไม่รับผิดชอบงาน ซึ่งแท้จริงแล้วการรับผิดชอบงานเป็นเรื่องที่พื้นฐานที่ควรมีอยู่แล้ว แต่การมีภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบระหว่างกันตามที่ Lencioni อธิบายนั้นจะลึกซึ้งกว่าความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
ตัวอย่างเช่น หากเพื่อนร่วมงานในทีมของคุณลืมทำงานบางอย่าง ขาดความรับผิดชอบในการทำงาน หรือทำงานไม่ได้ตามมาตรฐานที่ตกลงกันไว้ การบอกสิ่งเหล่านี้ให้กับคนอื่นที่เหลือในทีมคือการมีภาระหน้าที่ ความรับผิดระหว่างกัน ซึ่งมันไม่ใช่หน้าที่ของ หัวหน้าทีม หรือผู้จัดการ เพียงคนเดียวในการตรวจสอบสิ่งเหล่านี้ แต่เป็นหน้าที่ของทุกคนในทีมที่จะช่วยดูแลกัน
การหลีกเลี่ยงภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบระหว่างกันเป็นสิ่งที่ยากที่สุดที่จะทำได้ เพราะธรรมชาติของมนุษย์ไม่ต้องการความขัดแย้ง เพราะความขัดแย้งในลักษณะนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการการตัดสิน ดูใจร้าย หรือเป็นคนเรื่องเยอะ ซึ่งเมื่อมีใครพูดออกมา มันอาจทำให้เขาถูกแบน หรือได้รับความนิยมลดลง ดังนั้นหลายคนจึงเลือกที่จะทำให้ตัวเองปลอดภัยด้วยการไม่พูดอะไรไม่ยุ่งอะไรในงานคนอื่น
ลักษณะของทีมที่หลีกเลี่ยงภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบระหว่างกัน
ส่งงานไม่ตรงเวลา
หัวหน้าทีมหรือผู้จัดการเป็นคนเดียวที่จะดูแลทุกสิ่งทุกอย่าง
ไม่ค่อยมีงานที่มีคุณภาพสูงออกมาให้เห็น มักจะมีผลงานที่มาตรฐานกลางๆ
แนวทางการแก้ไขเมื่อทีมหลีกเลี่ยงภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบระหว่างกัน
ให้ความสำคัญกับรางวัลจากประสิทธิภาพของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากทีม ไม่ใช่แบบรายบบุคคล
รู้วิธีการสื่อสารเพื่อที่จะบอกข้อผิดพลาด ไม่ใช่เป็นการโจมตีที่ตัวบุคคล
สร้างมาตรฐานที่ชัดเจน เป็นรูปธรรมให้มากที่สุด
สร้างวัฒนธรรมในทีมให้การให้ feedback เป็นเรื่องปกติ
หากทีมของคุณกำลังหลีกเลี่ยงภาระหน้าที่ คุณสามารถให้เราจัดกระบวนการ Facilitation เพื่อพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น หาทางออกร่วมกันกับทีม หรือเรียนรู้กระบวนการให้ feedback อย่างสร้างสรรค์เพื่อให้ทีมสามารถทำงานดีขึ้นได้
ข้อดีของทีมที่มีความรับผิดชอบระหว่างกัน
เกิดความเคารพในแต่ละคนอย่างแท้จริง
ลดภาระงานเรื่องการบริหารแต่ละคน
เพิ่มความสามารถในการชี้ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในงานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาในทีม
ทำให้คนที่มีความสามารถต่ำกว่าระดับมาตรฐานได้พัฒนาตัวเองและปรับปรุง
ไม่ให้ความใส่ใจกับผลลัพธ์ของทีม (Inattention to Results)
หากสมาชิกไม่ให้ความสำคัญกับเป้าหมายของทีม แต่ให้ความสำคัญกับความสำเร็จส่วนตัวจะทำให้ภาพรวมการทำงานร่วมกันมีปัญหา เพราะทีมเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของคนหลายๆ คน แต่ทีมจะไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ควรจะเป็น เมื่อสมาชิกเลือกทำอะไรบางอย่างเพราะความต้องการส่วนตัว (เช่น ความก้าวหน้าในอาชีพ, ชื่อเสียงส่วนตัว) จนทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
Team Status คือ สถานะของทีม ประสิทธิภาพต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากทีมจะอยู่ในภาพรวมของทีม ทีมที่ดีจะเป็นทีมที่ทีมมีความสำคัญซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จ แทนที่จะเป็นทีมที่มีคนสำคัญนำไปสู่ความสำเร็จ
Personal Status คือ สถานะของบุคคล เช่น ตำแหน่งในหน้าที่การงาน ความจดจำ ความโด่งดัง หากสมาชิกต้องการมีสถานะของบุคคลที่ดีอาจใช้วิธีการต่างๆ เพื่อที่จะทำให้ตัวเองมีสถานะที่ดีขึ้น แทนที่จะเป็นสถานะโดยรวมของทีม
ลักษณะของทีมที่ไม่ให้ความใส่ใจกับผลลัพธ์ของทีม
ไม่เกิดการพัฒนา
เป้าหมายที่มีร่วมกันถูกละความสนใจไปได้โดยง่าย
ไม่เกิดการตัดสินใจที่ส่งผลดีที่สุดกับทีม
แนวทางการแก้ไขเมื่อทีมไม่ให้ความใส่ใจกับผลลัพธ์ของทีม
สร้าง metrics ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผลลัพธ์ของทีม
ทำให้ผลตอบแทนขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของทีม
ทำให้บรรยากาศการทำงานเกิดการเรียนรู้ระหว่างกัน
ใช้การสะท้อนตัวเองในการพูดคุยให้เห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับทีม โดยมีเป้าหมายของทีมเป็นสำคัญ
หากทีมของคุณไม่ได้ให้ความสนใจกับผลลัพธ์ของทีม คุณสามารถให้เราจัดกระบวนการ Facilitation เพื่อพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น หาทางออกร่วมกันกับทีม โดยอาจต้องอาศัยกระบวนการอื่นเข้ามามีส่วนร่วมด้วยเช่น
ข้อดีของทีมที่บุคลากรมีความใส่ใจกับผลลัพธ์ของทีม
ทำให้บุคลากรในทีมมีสมาธิกับการทำงานของทีม
สมาชิกรู้สึกสนุกสนานกับการทำงานและยินดีกับความสำเร็จของทีม
เกิดความรู้สึกร่วมและความสนิทสมากันภายในทีม
ผลลัพธ์และความสำเร็จของทีมจะทำให้เกิดความภูมิใจ และเติมเต็มความต้องการในแต่ละด้านตามทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ได้ โดยเฉพาะในขั้นที่ 4 ความภูมิใจ (Esteems) และสำหรับบางคนอาจได้รับความต้องการถึงขั้นที่ 5 self-actualization เลยก็ได้
เมื่อบุคลากรในทีมมีความใส่ใจกับผลลัพธ์ของทีมแล้ว ทีมจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดและเป็นหนึ่งเดียวกัน สามารถพัฒนาขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และสร้างสรรค์นวตกรรมใหม่ๆ มีวิธีใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหา พัฒนาการทำงานมากที่สุด
เริ่มทำให้การทำงานร่วมกันมีประสิทธิภาพตั้งแต่ตอนนี้
ตอนนี้คุณได้ทราบเกี่ยวกับลักษณะการทำงานร่วมกันที่ขาดประสิทธิภาพแล้ว หากคุณเป็นสมาชิกในทีมและพบว่าทีมกำลังมีปัญหาอยู่ คุณอาจหาวิธีการสื่อสารเรื่องนี้ให้กับสมาชิกคนอื่นๆ ในทีม หรือบอกหัวหน้าทีม ผู้ดูแลก่อนก็ได้
ปัญหาเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของทีมเป็นปัญหาที่ต้องอาศัยเวลาในการแก้ไข หากคุณกำลังต้องการหาแนวทางในสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพ คุณสามารถให้องค์กรของคุณได้เรียนรู้ในหลักสูตรการอบรม การจัดกระบวนการ และเวิร์คช็อปภายใน เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันหรือติดต่อเราเพื่อปรึกษาแนวทางเบื้องต้นได้
Related Topics
แหล่งอ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม
Urbinner เป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้เติบโตจากการเรียนรู้ในทุกช่วงเวลาของชีวิต โดยทีมนักจัดกระบวนการจะพาคุณไปเรียนรู้ทักษะที่นำไปสู่การเข้าใจตัวเอง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการตระหนักรู้ร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถทำในสิ่งที่มีคุณค่าและความหมายสำหรับตัวเอง องค์กร และชุมชนของเราได้
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPS Machine EPS Block…
EPS Machine EPS Block…
EPS Machine EPS Block…
AEON MINING AEON MINING
AEON MINING AEON MINING
KSD Miner KSD Miner
KSD Miner KSD Miner
BCH Miner BCH Miner
BCH Miner BCH Miner
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPS Machine EPS Block…
EPS Machine EPS Block…
EPS Machine EPS Block…
AEON MINING AEON MINING
AEON MINING AEON MINING
KSD Miner KSD Miner
KSD Miner KSD Miner
BCH Miner BCH Miner
BCH Miner BCH Miner