Highlights
ISTP คือ หนึ่งในบุคลิกภาพทั้ง 16 แบบของ MBTI ที่ชอบวิเคราะห์ แก้ปัญหาสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว
ISTP เป็นคนที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเหตุผลและมักชอบมีโลกส่วนตัว โดยเราสามารถดูแล ISTP ได้ด้วยการอนุญาตให้เขาได้มีเวลาส่วนตัว และอธิบายสิ่งต่างๆ ด้วยความเป็นเหตุเป็นผล
มีฟังก์ชั่นหลัก (Dominant Function) เป็น Introverted Thinking และฟังก์ชั่นผู้ช่วย (Auxiliary Function) เป็น Extraverted Sensing
ISTP (Introverted, Sensing, Thinking, Perceiving) เป็นหนึ่งในบุคลิกภาพทั้ง 16 แบบ หรือ MBTI ที่มักใช้เวลาไปกับการวิเคราะห์ หาเหตุผล แก้ปะัญหาสิ่งต่างๆ ซึ่งโดยมากมักเป็นเรื่องที่ขึ้นรอบตัว อาจถูกเรียกได้ว่าเป็นช่างฝีมือ
บุคลิกภาพทั้ง 16 แบบนั้นเกิดจากความถนัดใน 4 องค์ประกอบ (Extraversion/Introversion, Sensing/ Intuition, Thinking/Feeling, Judging/ Perceiving) โดยในเวิร์คช็อป MBTI: 16 Personality types จะช่วยทำให้คุณเข้าใจและสามารถค้นหาบุคลิกภาพของตัวเอง เพื่อให้คุณได้เข้าใจตัวเอง พัฒนาจุดแข็งจุดอ่อนตามบุคลิกภาพ และรู้วิธีการอยู่ร่วมกับคนที่มีบุคลิกภาพแตกต่างกันได้
เนื้อหาในบทความ
บุคลิกภาพและลักษณะเฉพาะตัวของ ISTP
ISTP ชอบสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวในปัจจุบัน และนำสิ่งเหล่านั้นมาวิเคราะห์ ประมวลผล พวกเขาเป็นนักแก้ปัญหาที่ใช้ข้อมูลที่ได้รับมาทุกอย่างในการตรวจสอบปัญหา และพร้อมที่จะปรับตัวกับความท้าทายใหม่ๆ ไม่ว่าภายนอกเขาจะแสดงออกว่าเป็นคนแบบใด แต่เขามักจะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการ
วิเคราะห์ หาทางแก้ไขปัญหา พัฒนาสิ่งต่างๆ
มองสิ่งต่างๆ ในเชิงตรรกะ
ISTP เป็นคนที่ใช้เวลาอยู่กับปัจจุบัน เขาชอบเรียนรู้จากสิ่งที่จับต้องได้จริงมากกว่าทฤษฎี นามธรรม เขาจะรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอได้ดี นอกจากนี้ ISTP ยังเป็นคนที่
ให้ความสำคัญเกี่ยวกับรายละเอียด ข้อมูล
อยู่กับความเป็นจริง สิ่งที่จับต้องได้
จุดแข็งของ ISTP
การวิเคราะห์เชิงตรรกะ
เป็นนักลงมือทำ เรียนรู้ผ่านการลงมือทำได้ดี
มองโลกตามความเป็นจริง
จุดอ่อนของ ISTP
เข้าถึงตัวยาก
ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องอารมณ์ ความรู้สึก
เหนื่อยและพลังหมดอย่างรวดเร็ว เมื่อต้องพบปะผู้คนจำนวนมาก
ISTP ในที่ทำงาน
ISTP มักเป็นคนที่อยู่อย่างเงียบๆ ในที่ทำงาน เขามักจะชอบคิดวิเคราะห์สิ่งต่างๆ โดยลำพังมากกว่าการปรึกษาพูดคุยกับคนอื่น บ่อยครั้งเขาอาจมองว่าการประชุมและระดมความคิดเห็นเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น ISTP ชอบความท้าทายและลงมือทำสิ่งต่างๆ มากพอๆ กับการใช้เวลาคิด นอกจากนั้นเขายังสามารถรับมือกับความไม่แน่นอน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดีด้วย
ISTP มักจะเพิกเฉยความสำคัญของความสัมพันธ์ในที่ทำงานหรือเมื่อต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้คน
ISTP อาจเก็บความคิด ไอเดีย ต่างๆ ไว้คนเดียว หรือไม่รู้วิธีการที่แสดงมันออกมาอย่างเหมาะสม
เมื่อ ISTP ได้เป็นผู้นำ เขามักจะเป็นผู้นำที่ทำให้ลูกน้องดูเป็นตัวอย่าง ให้ความสำคัญของการให้ลูกน้องรู้ระบบ ขั้นตอน แนวทางการทำงาน แล้วชอบให้ลูกน้องมีอิสระในการทำงาน
วิธีการปฏิสัมพันธ์และดูแลคนที่มีบุคลิกภาพ ISTP
ISTP มักจะเป็นคนที่ชอบอยู่คนเดียว บางครั้งพวกเขามักชอบทำในสิ่งที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้คน เขามักจะถูกมองว่าเป็นคนที่เข้าถึงยากและเข้าใจยากด้วยเช่นกัน เราสามารถดูแล ISTP ได้โดย
เคารพความเป็นส่วนตัวของ ISTP
ให้ความสำคัญกับเรื่องส่วนตัวที่เขาพูดออกมาเพราะ ISTP ส่วนใหญ่มักชอบพูดเรื่องส่วนตัวออกมาเพียงครั้งเดียว
ไม่ใช้ความรู้สึกในการบังคับ กระตุ้น ให้ ISTP ทำตามคำขอของคุณ
Cognitive Function ของ ISTP
ISTP เป็นผู้ที่มีความถนัดแบบ Introverted, Sensing, Thinking, Perceiving ซึ่งตามทฤษฎีของ Carl Jung แล้ว ทำให้ ISFP มี cognitive function ดังต่อไปนี้
ฟังก์ชั่นหลัก (Dominant Function): Introverted Thinking
ฟังก์ชั่นผู้ช่วย (Auxiliary Function): Extraverted Sensing
ฟังก์ชั่นลำดับสาม (Tertiary Function): Introverted Intuition
ฟังก์ชั่นด้อย (Inferior Function): Extraverted Feeling
โดยที่แต่ละบุคลิกภาพจะมีองค์ประกอบของ cognitive function ที่แตกต่างกันไป และแต่ละคนก็จะมีการใช้งาน cognitive function ที่ไม่เหมือนกัน ตามบริบทและการพัฒนาที่แตกต่างกันออกไป
แต่ละบุคลิกภาพจะใช้ฟังก์ชั่นหลัก (Dominant Function) และฟังก์ชั่นผู้ช่วย (Auxiliary Function) เป็นหลักในชีวิตประจำวัน ส่วนฟังก์ชั่นลำดับสาม (Tertiary Function) และฟังก์ชั่นด้อย (Inferior Function) เป็นฟังก์ชั่นที่แต่ละบุคลิกภาพจะมีเลือกใช้น้อยกว่า ทำให้อาจมีการพัฒนาน้อยกว่าสองฟังก์ชั่นแรก
ฟังก์ชั่นหลัก (Dominant Function): Introverted Thinking
ISTP ใช้เวลาส่วนมากไปกับการคิด วิเคราะห์ สิ่งที่อยู่ภายในหัวของพวกเขา
ISTP มักจะตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผล มีความเป็นกลาง ตามข้อมูลที่มีอยู่
ISTP มักจะสร้างระบบการตัดสินใจเพื่อวิเคราะห์และมักจะใช้กระบวนการคิดเชิงตรรกะเป็นหลัก
เมื่อ ISTP เรียนรู้อะไร เขามักจะค่อยๆ ปรับความเข้าใจต่อสิ่งนั้นตามระบบตรรกะที่เขาสร้างขึ้นมา
ฟังก์ชั่นผู้ช่วย (Auxiliary Function): Extraverted Sensing
คนที่มีบุคลิกภาพแบบ ISTP มักใช้ฟังก์ชั่น Extraverted Sensing ในการรับรู้ สังเกต สิ่งที่เกิดขึ้น
ISTP มักจะชอบใช้เวลาไปกับเรื่องราวที่เกิดขึนในปัจจุบันมากกว่าคาดการณ์อนาคต
ISTP ชอบมีประสบการณ์ตรงกับสิ่งที่มาจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 หรือบางคนอาจสนุกกับการไปผจญภัย ทำกิจกรรมเสี่ยง
ISTP สามารถวิเคราะห์ทฤษฎี แนวความคิดได้ แต่พวกเขามักจะให้ความสนใจกับสิ่งที่ปฏิบัติได้จริงและจับต้องได้มากกว่า
ฟังก์ชั่นลำดับสาม (Tertiary Function): Introverted Intuition
ISTP มักจะเห็นความเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ กับทฤษฎีจากการลงมือทำซ้ำๆ หรือเมื่อใช้เวลาไปกับกิจกรรมนั้นเป็นระยะเวลานาน
ISTP มักจะมีลางสังหรณ์ในเรื่องที่พวกเขาอยู่ด้วยเป็นเวลานาน
ฟังก์ชั่นด้อย (Inferior Function): Extraverted Feeling
ISTP มักจะค่อนข้างเก็บตัว และมีโลกส่วนตัวค่อนข้างสูง
ISTP มักจะไม่เข้าใจระบบคุณค่า ประเพณี ค่านิยม ที่คนอื่นให้ความสำคัญ รวมทั้งยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก บ่อยครั้งพบว่า ISTP ไม่ยอมรับความรู้สึกของตัวเอง
การรู้จักบุคลิกภาพของตัวเองจะช่วยทำให้เราสามารถพัฒนาจุดแข็งของตัวเอง และในขณะเดียวกันก็สามารถเท่าทันจุดอ่อนที่มักจะทำให้เกิดปัญหาในชีวิตเราได้ โดยในเวิร์คช็อป MBTI: 16 Personality types จะช่วยทำให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับบุคลิกภาพ 16 แบบ เพื่อค้นหาบุคลิกภาพของคุณ
สำหรับคนที่มีความเข้าใจและทราบบุคลิกภาพที่แท้จริงของตัวเองแล้ว สามารถเรียนรู้การพัฒนาตัวเองตาม Cognitive function ในเวิร์คช็อป MBTI: Cognitive Functions and Developments เพื่อเท่าทันตัวเองไม่ให้ติดกับดักของฟังก์ชั่นด้อย พาตัวเองออกจากสภาวะเครียดของบุคลิกภาพ และมีชีวิตที่ดีขึ้นจากการเป็นอิสระจากจุดด้อยของบุคลิกภาพได้
Related Topics
แหล่งอ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม
Drenth, A.J. 2014. My True Type. Inquire Books.
Hunziker, Leona Hass and Mark. 2014. Building blocks of personality type.
Myers, Isabel Briggs. n.d. Introduction to Myers-Briggs Type. The Myers-Briggs Company Pty Ltd.
Tieger, Paul D. Tieger and Barbara Barron. 1999. The Art of Speed Reading People. New York: Little, Brown and Company.
https://www.verywellmind.com/istp-introverted-sensing-thinking-perceiving-2795993
Urbinner เป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้เติบโตจากการเรียนรู้ในทุกช่วงเวลาของชีวิต โดยทีมนักจัดกระบวนการจะพาคุณไปเรียนรู้ทักษะที่นำไปสู่การเข้าใจตัวเอง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการตระหนักรู้ร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถทำในสิ่งที่มีคุณค่าและความหมายสำหรับตัวเอง องค์กร และชุมชนของเราได้
Comentarios