top of page
รูปภาพนักเขียนUrbinner

ESTP บุคลิกภาพ ลักษณะเฉพาะตัว และ Cognitive Function

อัปเดตเมื่อ 14 ก.พ. 2565

Highlights

  • ESTP คือ หนึ่งในบุคลิกภาพทั้ง 16 แบบของ MBTI ที่มีพลังในการทำสิ่งต่างๆ มาก พร้อมๆ ไปกับการสังเกตและวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว

  • ESTP เป็นบุคลิกภาพที่มีพลัง ชอบเข้าสังคม และการผจญภัย โดยสามารถปฏิสัมพันธ์กับ ESTP ได้ด้วยการพูดถึงประสบการณ์ที่เขาเคยผ่านมา หรือเรื่องที่เขาเชี่ยวชาญ

  • มีฟังก์ชั่นหลัก (Dominant Function) เป็น Extraverted Sensing และฟังก์ชั่นผู้ช่วย (Auxiliary Function) เป็น Introverted Thinking

 

ESTP (Extraverted, Sensing, Thinking, Perceiving) เป็นหนึ่งในบุคลิกภาพทั้ง 16 แบบ หรือ MBTI ที่มีพลังงานมาก ชอบสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ และวิเคราะห์ตามหลักเหตุผล อาจถูกเรียกได้ว่าเป็นนักธุรกิจ


บุคลิกภาพทั้ง 16 แบบนั้นเกิดจากความถนัดใน 4 องค์ประกอบ (Extraversion/Introversion, Sensing/ Intuition, Thinking/Feeling, Judging/ Perceiving) โดยในเวิร์คช็อป MBTI: 16 Personality types จะช่วยทำให้คุณเข้าใจและสามารถค้นหาบุคลิกภาพของตัวเอง เพื่อให้คุณได้เข้าใจตัวเอง พัฒนาจุดแข็งจุดอ่อนตามบุคลิกภาพ และรู้วิธีการอยู่ร่วมกับคนที่มีบุคลิกภาพแตกต่างกันได้


เนื้อหาในบทความ


ESTP บุคลิกภาพ จุดแข็ง จุดอ่อน และ Cognitive function
ESTP บุคลิกภาพ จุดแข็ง จุดอ่อน และ Cognitive function

บุคลิกภาพและลักษณะเฉพาะตัวของ ESTP

คนที่มีบุคลิกภาพแบบ ESTP เป็นคนที่มีพลังงานมาก เขาเป็นนักแก้ไขปัญหา ชอบความสนุกสนาน เขาเป็นคนที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม ได้อย่างยอดเยี่ยม รวมทั้งยังสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีด้วย ESTP มักให้ความสำคัญเกี่ยวกับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ และเป็นคนที่

  • สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว มองเห็นรายละเอียดของสิ่งต่างๆ

  • ใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน

นอกจากนั้น ESTP เป็นคนที่ใช้ตรรกะในการตัดสินใจมากกว่าอารมณ์ความรู้สึก เมื่อต้องตัดสินใจเขามักจะเป็นคนที่

  • วิเคราะห์สถานการณ์ โดยใช้เหตุผล

  • ใช้ตรรกะ แก้ปัญหาด้วยกระบวนการที่เรียบง่าย

ESTP เป็นคนที่เก่งในเรื่องของการอยู่กับความเป็นจริง เขาชอบสิ่งที่ลงมือปฏิบัติได้จริงมากกว่าไอเดีย ทฤษฎีต่างๆ แต่เขาก็ให้ความสนใจเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังสิ่งเหล่านั้นด้วย


จุดแข็งของ ESTP

  • มีพลังงานเหลือล้น

  • มองเห็นรายละเอียดในสิ่งต่างๆ

  • กระบวนการสังเกตและวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้น

จุดอ่อนของ ESTP

  • เบื่อง่าย

  • ไม่ถนัดในการทำสิ่งที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎี

  • อาจไม่ค่อยได้วางแผนก่อนลงมือทำ


ESTP ในที่ทำงาน

ESTP เป็นคนที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งรอบข้าง เขามักจะสังเกตสิ่งรอบข้างได้อย่างรวดเร็วไม่ว่าสิ่งเหล่านั้นจะเป็นสิ่งของหรือผู้คน เขามักชอบพูดคุยเรื่องสนุกสนานท่ามกลางเพื่อนฝูง และเก่งในการลงมือทำ นำไอเดียมาใช้ในเชิงปฏิบัติ จดจ่อในรายละเอียด และเป็นนักแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

  • ESTP รู้สึกเครียดหากต้องทำงานที่ต้องยุ่งเกี่ยวกับนามธรรม ทฤษฎี การมองภาพรวม

  • ESTP อาจไม่ค่อยถนัดในการมองไปยังอนาคต กำหนดวิสัยทัศน์ วางแผนระยะยาว

เมื่อ ESTP ได้เป็นผู้นำ มักเป็นผู้นำที่เน้นการลงมือทำ ให้ความสำคัญเกี่ยวกับกฎ กติกา และธรรมเนียมปฏิบัติที่เคยมี ซึ่งมักจะเป็นวิธีที่เขาใช้ในการดูแลลูกน้องด้วย


วิธีการปฏิสัมพันธ์และดูแลคนที่มีบุคลิกภาพ ESTP

คนที่มีบุคลิกภาพแบบ ESTP เป็นคนที่ปรับตัวเก่ง พวกเขาชอบเข้าสังคม ออกไปทำกิจกรรมข้างนอก และมีพลังงานเหลือล้น เขาชอบตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ทันที และพูดอะไรตรงไปตรงมา ในการมีปฏิสัมพันธ์กับ ESTP เราควร

  • ตอบโต้ ESTP ในบทสนทนาเพื่อแสดงถึงความใส่ใจ แทนที่จะฟังเงียบๆ

  • ใช้ภาษาที่ตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม

  • พูดคุยในสิ่งที่เขาเคยผ่านมา มีประสบการณ์ หรือเชี่ยวชาญ


Cognitive Function ของ ESTP

ESTP เป็นผู้ที่มีความถนัดแบบ Extraverted, Sensing, Thinking, Perceiving ซึ่งตามทฤษฎีของ Carl Jung แล้ว ทำให้ ESTP มี cognitive function ดังต่อไปนี้

โดยที่แต่ละบุคลิกภาพจะมีองค์ประกอบของ cognitive function ที่แตกต่างกันไป และแต่ละคนก็จะมีการใช้งาน cognitive function ที่ไม่เหมือนกัน ตามบริบทและการพัฒนาที่แตกต่างกันออกไป


แต่ละบุคลิกภาพจะใช้ฟังก์ชั่นหลัก (Dominant Function) และฟังก์ชั่นผู้ช่วย (Auxiliary Function) เป็นหลักในชีวิตประจำวัน ส่วนฟังก์ชั่นลำดับสาม (Tertiary Function) และฟังก์ชั่นด้อย (Inferior Function) เป็นฟังก์ชั่นที่แต่ละบุคลิกภาพจะมีเลือกใช้น้อยกว่า ทำให้อาจมีการพัฒนาน้อยกว่าสองฟังก์ชั่นแรก


ฟังก์ชั่นหลัก (Dominant Function): Extraverted Sensing

  • ESTP ให้ความสนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นหลัก

  • ESTP ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ไปรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง และพวกเขาสามารถรับรู้สิ่งรอบตัวได้ง่ายหากมีอะไรเปลี่ยนแปลงไป

  • ESTP ใช้เวลาไปกับโลกแห่งความเป็นจริง สิ่งที่จับต้องได้ มากกว่าจินตนาการ ความฝัน หรือความหมายที่ซ่อนอยู่ในเหล่านั้น

  • ESTP ชอบการกระตุ้นทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่นการมอง การชิม การฟัง การสัมผัส และเขามักจะไวต่อความรู้สึกเหล่านั้นด้วย

  • ESTP อาจเบื่อได้ง่ายหากสภาพแวดล้อมรอบตัวเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง หรือต้องใช้เวลาในการนึกคิดเรื่องต่างๆ นาน

ฟังก์ชั่นผู้ช่วย (Auxiliary Function): Introverted Thinking

  • ESTP ใช้การวิเคราะห์ การคิดเชิงตรรกะ จากข้อมูลที่เขาได้รับมาผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

  • เมื่อต้องตัดสินใจ ESTP เป็นคนที่มีเหตุมีผล เขาตัดสินใจตามหลักเกณฑ์ ความสมเหตุสมผล และหลักฐาน

  • ESTP มองสิ่งต่างๆ ในรูปแบบของนักสังเกตการณ์ เขาเก็บข้อมูลและนำมาวิเคราะห์

ฟังก์ชั่นลำดับสาม (Tertiary Function): Extraverted Feeling

  • ฟังก์ชั่นนี้จะทำให้ ESTP เป็นบุคลิกภาพที่ชอบเข้าไปพูดคุยกับเพื่อนฝูง และอยู่ท่ามกลางผู้คน

  • ฟังก์ชั่นนี้เป็นฟังก์ชั่นลำดับที่สามของ ESTP ทำให้เขาอาจไม่ค่อยรู้สึกสะดวกใจที่จะเล่าเรื่องส่วนตัวต่อหน้าคนอื่น

  • ESTP มักจะชอบที่ที่มีความกลมเกลียว และเขาก็มองหาความกลมเกลียว การเดินไปในทิศทางเดียวกันของกลุ่ม

ฟังก์ชั่นด้อย (Inferior Function): Introverted Intuition

  • Introverted Intuition เป็นฟังก์ชั่นที่พัฒนาน้อยที่สุดของ ESTP ทำให้พวกเขาไม่ค่อยชอบเรื่องทฤษฎี นามธรรม มากนัก

  • ESTP ใช้ฟังก์ชั่นนี้ไปกับการมองหาความเป็นไปได้ และความเชื่อมโยงในอนาคต ซึ่งโดยมากมักจะมีประสบการณ์ที่เขาเคยผ่านมาเป็นพื้นฐาน


การรู้จักบุคลิกภาพของตัวเองจะช่วยทำให้เราสามารถพัฒนาจุดแข็งของตัวเอง และในขณะเดียวกันก็สามารถเท่าทันจุดอ่อนที่มักจะทำให้เกิดปัญหาในชีวิตเราได้ โดยในเวิร์คช็อป MBTI: 16 Personality types จะช่วยทำให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับบุคลิกภาพ 16 แบบ เพื่อค้นหาบุคลิกภาพของคุณ


สำหรับคนที่มีความเข้าใจและทราบบุคลิกภาพที่แท้จริงของตัวเองแล้ว สามารถเรียนรู้การพัฒนาตัวเองตาม Cognitive function ในเวิร์คช็อป MBTI: Cognitive Functions and Developments เพื่อเท่าทันตัวเองไม่ให้ติดกับดักของฟังก์ชั่นด้อย พาตัวเองออกจากสภาวะเครียดของบุคลิกภาพ และมีชีวิตที่ดีขึ้นจากการเป็นอิสระจากจุดด้อยของบุคลิกภาพได้





Related Topics


แหล่งอ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม

  • Drenth, A.J. 2014. My True Type. Inquire Books.

  • Hunziker, Leona Hass and Mark. 2014. Building blocks of personality type.

  • Myers, Isabel Briggs. n.d. Introduction to Myers-Briggs Type. The Myers-Briggs Company Pty Ltd.

  • Tieger, Paul D. Tieger and Barbara Barron. 1999. The Art of Speed Reading People. New York: Little, Brown and Company.

  • https://www.verywellmind.com/the-entp-personality-type-and-characteristics-2795982

 

Urbinner เป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้เติบโตจากการเรียนรู้ในทุกช่วงเวลาของชีวิต โดยทีมนักจัดกระบวนการจะพาคุณไปเรียนรู้ทักษะที่นำไปสู่การเข้าใจตัวเอง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการตระหนักรู้ร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถทำในสิ่งที่มีคุณค่าและความหมายสำหรับตัวเอง องค์กร และชุมชนของเราได้

ดู 74,325 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page