top of page
  • รูปภาพนักเขียนUrbinner

ปัญญา 3 ฐาน - Head Heart Hand

อัปเดตเมื่อ 16 ต.ค. 2564

พฤติกรรมและความคิดของมนุษย์เป็นสิ่งที่ซับซ้อน การอธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์อาจมีหลากหลายวิธีเช่น ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ แต่องค์ความรู้ที่ได้รับความนิยมมากในการอธิบายการทำงานของมนุษย์ที่เป็นที่นิยมและสามารถใช้ได้จริงในยุคปัจจุบันที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือปัญญา 3 ฐาน



เนื้อหาในบทความ


ปัญญา 3 ฐาน คืออะไร?

ปัญญา 3 ฐาน
ปัญญา 3 ฐาน

ปัญญา 3 ฐาน คือ ความสามารถในการทำงานของมนุษย์ ซึ่งสามารถอธิบายได้โดยสมองในส่วนต่างๆ ได้แก่ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ (cognitive domain), อารมณ์และความรู้สึก (affective domain, และทักษะ (psychomotor domain) โดยอาจเรียก 3 ส่วนนี้ว่า Head Heart Hand ตามลำดับเพื่อเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนถึงความสามารถในใช้องค์ประกอบต่างๆ


นอกจากนี้ยังมีอีกหลายชื่อเช่น

  • ศูนย์หัว ศูนย์ใจ ศูนย์ท้อง

  • ฐานคิด ฐานใจ ฐานกาย

โดยสิ่งเหล่านี้มีที่มาจาก Professor Hugo M. Kehr ซึ่งถูกเรียกว่า 3C-model of motivation (3 Components of motivation) และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยคุณสามารถลองค้นหาดูว่าคุณถนัด คุ้นเคย หรือมักใช้สิ่งไหนเป็นประจำ


ฐานหัว (Head)

Head ฐานหัว ฐานคิด หรือศูนย์หัว คือการแสดงถึงองค์ความรู้ (cognitive domain) โดยเป็นปัญญาหรือความสามารถในเชิงเหตุผล การคิดวิเคราะห์ เข้าใจด้วยกระบวนการคิด การเรียนรู้ผ่านการอ่าน กาาฟัง การอภิปราย


คนที่มีลักษณะเด่นเป็นฐานนี้มักจะชอบใช้ความคิด ไม่ว่าจะเป็นจากการตัดสินใจ หรือเริ่มลงมือทำอะไรส่วนมากจะใช้ความคิดเป็นหลัก เป็นคนที่ชอบหาเหตุผลกับสิ่งต่างๆ และต้องการคำอธิบายในเชิงเหตุผลแม้ว่าเรื่องนั้นอาจไม่สามารถอธิบายด้วยเหตุผลได้ หากคุณเป็นคนที่มีลักษณะเด่นของฐานคิด คุณอาจจะลักษณะบางอย่างดังนี้

  • มีไอเดียใหม่ๆเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

  • ใช้เหตุผลในการเปรียบเทียบ

  • ตั้งคำถามกับสิ่งที่เกิดขึ้น มองถึงเบื้องหลังของสิ่งที่ซ่อนอยู่

  • ค้นหาความรู้ได้เป็นประจำ

  • ชอบวางแผน


ฐานใจ (Heart)

Heart ฐานใจ หรือศูนย์ใจ คือการแสดงถึงอารมณ์และความรู้สึก (affective domain) ปัญญาหรือความสามารถในการใช้อารมณ์ เกี่ยวข้องกับความรู้สึก การให้คุณค่า ความรู้สึกว่าเป้าหมายหรือผลลัพธ์เป็นสิ่งที่สำคัญ


คนที่มีลักษณะเด่นเป็นฐานนี้มักจะอ่อนไหวต่อความรู้สึกเพราะให้ความสนใจกับความรู้สึกและอารมณ์ต่างๆ อาจมีลักษณะขึ้นๆ ลงๆ บางครั้งก็อารมณ์รุนแรง บางครั้งก็อ่อนโยนมาก สิ่งที่มักจะมีร่วมกันคือมีความสามารถในการเข้าใจคนอื่นสู่ง การทำอะไรบางอย่างอาจต้องรอให้อารมณ์มันถึงจุดหนึ่งก่อนถึงจะทำได้ หากคุณเป็นคนที่มีลักษณะเด่นของฐานใจ คุณอาจจะลักษณะบางอย่างดังนี้

  • เข้าใจว่าอะไรเกิดขึ้นภายในจิตใจได้ดี

  • เข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของคนอื่น

  • ไวต่อการเปลี่ยนแปลงอารมณ์

  • อาจจมดิ่งลงไปในอารมณ์หรือความเศร้า

  • มีอารมณ์เป็นเงื่อนไขในการทำงานที่ต้องการประสิทธิภาพ


ฐานกาย (Hand)

Hand ฐานกาย หรือศูนย์ท้อง คือการแสดงถึงทักษะ (psychomotor domain) ปัญญาหรือความสามารถที่เกี่ยวข้องกับทักษะ ความรู้ที่เกิดจากการลงมือทำ ประสบการณ์ สัญชาตญาณ


คนที่มีลักษณะเด่นเป็นฐานนี้มักจะชอบทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีเมื่อได้ลงมือทำ ในการตัดสินใจหรือลงมือทำอะไรคุณอาจไม่ได้ทำลงไปด้วยเหตุผลมากนัก แต่เป็นเหมือนการสั่งการจากภายในหรือปฏิกิริยาอัตโนมัติ หากคุณเป็นคนที่มีลักษณะเด่นของฐานกาย คุณอาจจะลักษณะบางอย่างดังนี้

  • ใช้สัญชาติญาณที่ไม่ใช่เหตุผลเชิงตรรกะ

  • มีทักษะทางร่างกาย

  • รับรู้ถึงการเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงของกายได้ดี

  • มีความสามารถในการจดจำรูปแบบของกล้ามเนื้อว่าเป็นอย่างไร

  • การทำตามแบบหรือคำแนะนำได้ดี

ทั้ง Head Hand Heart ไม่ได้เป็นลักษณะบุคลิคภาพของใครคนใดคนหนึ่ง เพียงแต่การที่เราเติบโตมาเรามักจะใช้คุณลักษณะที่เราเคยใช้ได้ผลหรือทำได้ดีซ้ำๆ จนเกิดเป็นความเคยชิน เมื่อใช้สิ่งนั้นซ้ำๆ จนเกิดเป็นความเคยชินแล้วอาจทำให้ไม่รู้ตัวและใช้สิ่งเดิมนี้แก้ปัญหาอื่นๆ ซึ่งเมื่อปัญหาเปลี่ยนแต่เรายังใช้วิธีการแก้ไขปัญหาเดิม ด้วยสิ่งเดิมอาจไม่ได้ผล


นอกจากนี้สภาพแวดล้อมยังส่งเสริมให้เกิดความถนัดในรูปแบบด้วยเช่นโรงเรียนในระบบที่จะให้คุณค่ากับการคิดวิเคราะห์ที่อยู่ในฐานคิด แต่มักไม่ให้คุณค่ากับฐานใจ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าฐานใจ หรือฐานกายนั้นไม่มีความหมาย หรือไม่ใช่การเรียนรู้ เพียงแต่สภาพแวดล้อมเหล่านั้นไม่ให้คุณค่าสิ่งเหล่านี้เพียงเท่านั้น


Related Topics


#3Cs #HeadHeartHand #Head #Heart #Hand #ปัญญา3ฐาน #ฐานคิด #ฐานใจ #ฐานกาย #ศูนย์หัว #ศูนย์ใจ #ศูนย์ท้อง

 

Urbinner เป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้เติบโตจากการเรียนรู้ในทุกช่วงเวลาของชีวิต โดยทีมนักจัดกระบวนการจะพาคุณไปเรียนรู้ทักษะที่นำไปสู่การเข้าใจตัวเอง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการตระหนักรู้ร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถทำในสิ่งที่มีคุณค่าและความหมายสำหรับตัวเอง องค์กร และชุมชนของเราได้

Facebook group Banner.jpg
bottom of page