Mental Wellness at Work
หลักสูตรอมรม สุขภาพจิตเบื้องต้นในที่ทำงาน
เกี่ยวกับหลักสูตร
รู้จักกับองค์ความรู้ทางสุขภาวะทางจิตใจ (mental health) เบื้องต้น รวมทั้งอาการและความผิดปกติทางจิตใจเช่น โรคซึมเศร้า, ไบโพลา, โรคย้ำคิดย้ำทำ ที่อาจเกิดขึ้นได้กับคนวัยทำงาน
สร้างความตรหนักรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตในที่ทำงานเพื่อให้ลุคลากรดูแลกันได้ดีขึ้น
ปัญหาที่พบในองค์กร
บุคลากรขาดองค์ความรู้ด้านสุขภาพจิต มีปัญหาทางสุขภาพจิตในการทำงาน แสดงออกมาในลักษณะของสภาวะอารมณ์แปรปรวน หรือประสิทธิภาพการทำงานลดลง
สภาพแวดล้อมในที่ทำงานมีความกดดันสูง บุคลากรพบกับความเครียด แต่ขาดที่พึ่งทางอารมณ์
พนักงานมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากสุขภาพจิต ลักษณะงานบางประเภทมรแนวโน้มที่จะทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตได้ง่ายเช่นงานบริการ พนักงานรับเรื่องการร้องเรียนทางโทรศัพท์
เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นภายในองค์กร มีเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดสภาวะไม่มั่นคงขึ้นกับขิตใจของบุคลากรเช่น การปลดพนักงานออกจำนวนมาก การปิดโรงงานใกล้เคียง การย้ายสถานที่ทำงาน การเปลี่ยผู้บริหาร
เป้าหมายของหลักสูตร
สร้างองค์ความรู้ทางสุขภาพจิต (mental health) ให้กับบุคลากร
ป้องกันปัญหาทางสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
สร้างบรรยากาศในการทำงานที่ปลอดภัยต่อสภาพจิตใจ
ระยะเวลา
ระยะสั้น 3 ชั่วโมง
มาตรฐาน 1 วัน
จำนวนผู้เข้าร่วม
ขนาดเล็ก ไม่เกิน 25 คน
ขนาดกลาง ไม่เกิน 50 คน
ขนาดใหญ่ มากกว่า 50 คน
องค์กรที่เคยอบรมในหลักสูตรของเรา
เนื้อหาในหลักสูตร
แนะนำให้รู้จักกับสุขภาวะทางจิตใจเบื้องต้น (Mental Health)
รู้จักสุขภาวะทางจิตใจ และความเชื่อมโยงกับสขภาวะทางกาย
ความสำคัญของสุขภาวะทางจิตใจในที่ทำงาน
รู้จักอาการและสภาวะทางจิตใจที่อาจเป็นอันตรายต่อการใช้ชีวิตและการทำงาน
ทำความเข้าใจอาการของโรคและปัญหาทางสุขภาพจิตที่พบได้ทั่วไปในช่วงชีวิตของคนวัยทำงานเช่น โรคซึมเศร้า, ไบโพลา, ย้ำคิดย้ำทำ, ความเครียด และอาการจิตเภท
รู้จักสัญญาณเบื้องต้นที่แสดงให้เห็นถึงความผิดปกติของสภาวะทางจิตใจ
เรียนรู้ผลกระทบของอาการทางจิตใจเหล่านี้ที่มีต่อการทำงาน การใช้ชีวิต
แนะนำวิธีการดูแลเพื่อนร่วมงานที่มีอาการทางจิตใจ
การดูแลสุขภาวะทางจิตใจของตนเอง
แนวทางการปฏิบัติเบื้องต้น
การสร้างแผนการในการดูแลสภาวะทางจิตใจของตัวเอง
การตระหนักรู้ทางอารมณ์เบื้องต้น
เทคนิคในการตระหนักรู้สภาวะทางอารมณ์ของตัวเอง
ค้นหาสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติทางสภาวะอารมณ์
คำแนะนำเพิ่มเติมเมื่อต้องการขอความช่วยเหลือ
ความแตกต่างของนักจิตวิทยาและจิตแพทย์
เมื่อไหร่ที่ต้องพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์
การเตรียมตัวและแนวทางการปฏิบัติตัวเมื่อต้องการพบผู้เชี่ยวชาญ
สิ่งที่จะได้รับจากหลักสูตร
บุคลากรมีความเท่าทันต่อปัญหาทางสุขภาพจิต (mental health)
เรียนรู้แนวทางในการคัดกรองปัญหาทางสุขภาพจิตเบื้องต้น
สร้างสุขภาวะที่ดี (well-being) ให้กับบุคลากรภายในองค์กร